web
counter
โครงการพัฒนาระบบ SWU Web Service เพื่อสนับสนุนการบริหารและการบริการข้อมูลสารสนเทศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เข้าสู่ระบบ

ติดต่อสอบถาม

ระบบสารสนเทศ

  • ชั้น 13 อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี โทรภายใน 17968

ระบบสนับสนุนการบริหารและการบริการข้อมูลสารสนเทศ (SWU Web Service)

ชื่อโครงการ
              โครงการพัฒนาระบบ SWU Web Service เพื่อสนับสนุนการบริหารและการบริการข้อมูลสารสนเทศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความเป็นมา
              มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหาร การเรียนการสอน และระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีการจัดการระบบฐานข้อมูลในด้านต่างๆ ประกอบด้วยข้อมูล นิสิต บุคลากร หลักสูตร รวมถึงสารสนเทศเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ ข้อมูลเหล่านี้มีบริการในระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (HURIS) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริการการศึกษา (SUPREME 2004) ระบบสารสนเทศบริหารงานวิจัย ระบบงานอาคารสถานที่ และระบบบริหารกิจการหอพักเป็นต้น ปัจจุบันได้ให้บริการกับหน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก และประชาชนทั่วไป โดยสามารถเรียกใช้ผ่านการบริหารจัดการข้อมูลในระบบคลังข้อมูล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (SUPREMEplus) ซึ่งเป็นรายงานรูปแบบต่างๆ
              ปัจจุบันผู้ใช้งานมีความต้องการในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อนำไปใช้สนับสนุนการบริหารและจัดการงานภายในหน่วยงาน หรือระบบงานของผู้ใช้งาน และเพื่อลดการนำข้อมูลไปใช้ซ้ำซ้อนโดยการดึงข้อมูลในรูปแบบ CSV หรือ TXT นำไปเชื่อมต่อระบบงานของผู้ใช้ ทำให้มีการขอใช้บริการในลักษณะนี้มีมากขึ้น เกิดปัญหาด้านความปลอดภัย และไม่สามารถรู้ได้ว่ามีการร้องขอข้อมูลซ้ำซ้อน หรือบ่อยครั้งเพียงใด เนื่องจากขั้นตอนต่างๆต้องผ่านทางเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ซึ่งใช้เวลาในการส่งเอกสาร และเกิดความไม่ปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล ทั้งยังไม่สามารถยืนยันการรับส่งข้อมูลได้ ปริมาณการให้บริการด้านข้อมูลยังใช้เทคโนโลยี่ที่ต้องใช้บุคลากรในการตรวจสอบป้องกัน และยังไม่สามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ
              สำนักคอมพิวเตอร์ในฐานะผู้ดูแลฐานข้อมูล มีนโยบายที่จะจัดทำให้เป็นระบบโดยใช้เทคโนโลยี Web Service เป็นมาตราฐานในการจัดการเกี่ยวกับการรับ-ส่งข้อมูลโดยรองรับฐานข้อมูลได้หลายประเภท เช่น excel access oracle MSSQL เป็นต้น ได้รับการยอมรับและในการแพร่หลาย ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยี่นี้ได้รับการนำไปใช้ในหน่วยงานสำคัญต่างๆ เช่น กรมสรรพกร กรมบัญชีกลาง เป็นต้น โดยมีเป้าหมายจัดทำเว็บไซต์ที่ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ เป็นระบบ สืบค้นได้ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความปลอดภัย

หลักการและเหตุผล

              ตามแผนยุทธศาสตร์ 15 ปี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พ.ศ. 2553 - 2567 ) ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 5 พัฒนาระบบบริหารที่มีคุณภาพโดยใช้เครื่องมือทางการบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เป้าประสงค์ 5.10 นําเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงาน และการบริหารงานกลยุทธ์ RAP 28 : โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารที่มีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาระบบเทคโนโลยี่ สารสนเทศ ให้ทันสมัยและตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ และสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์สํานัก คอมพิวเตอร์ เป้าหมายด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย
              เพื่อให้การบริการข้อมูลด้านสารสนเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และมี ความน่าเชื่อถือประกอบกับสํานักคอมพิวเตอร์เป็นหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบทางด้านไอซีที เพื่อการบริหาร จัดการ และให้บริการของมหาวิทยาลัย จึงตระหนักถึงความสําคัญความต้องการด้านการใช้ข้อมูลด้าน สารสนเทศ ของคณาจารย์ นิสิตบุคลากร และบุคคลทั่วไป จึงมีความจําเป็นต้องพัฒนาระบบ โดยจัดโครงการ พัฒนาระบบ SWU Web Service เพื่อสนับสนุนการบริหารและการบริการข้อมูลสารสนเทศมหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ให้แก้หน่วยงานทุก ระดับในมหาวิทยาลัย รวมถึงหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนางานบริการข้อมูลสารสนเทศของมหาวิทยาลัยในเชิงรุกให้เป็นสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศของมหาวิทยาลัยในแต่ละด้านได้แก่ ข้อมูลนิสิต ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลงานวิจัย ข้อมูลการเงิน ข้อมูลอาคารสถานที่ และข้อมูลด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. เพื่อเชื่อมโยงชุดข้อมูลพื้นฐานด้านสารสนเทศของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒผ่านทาง Web Services
3. เพื่อลดภาระการดำเนินการด้านการบริการพื้นฐานทางข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานย่อยภายในมหาวิทยาลัย
4. เพื่อสามารถตรวจสอบ และติดตามการขอใช้บริการข้อมูลสารสนเทศของมหาวิทยาลัยของผู้ใช้ ตามนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
5. เพื่อการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบที่ทันสมัย และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับบริการมากยิ่งขึ้น

คณะกรรมการบริการโครงการ

คณะกรรมการอำนวยการ
1. รองอธิการบดีฝ่ายบุคคล
2. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
3. ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์
4. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
5. ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย
6. ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี
7. ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษาสำนักงานอธิการบดี
8. รองผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์
    (อาจารย์อรรณพ โพธิสุข)
9. รองผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์
    (ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัชรชัย วิริยะสุทธิวงศ์)
10. เลขานุการสำนักคอมพิวเตอร์
    (นางพัชรินทร์ สนธิวนิช)
11. ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์
    (นางสาววิลาวัลย์ บัวขำ)
ที่ปรึกษา
ที่ปรึกษา
ประธานกรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ
กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการและเลขานุการ
 
คณะกรรมการดำเนินการ
1. ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์
2. รองผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์
    (ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัชรชัย วิริยะสุทธิวงศ์)
3. เลขานุการสำนักคอมพิวเตอร์
4. ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์
    (นางสาววิลาวัลย์ บัวขำ)
5. หัวหน้าฝ่ายระบบสารสนเทศ
     (นางสาวพรทิพย์ พงษ์สวัสดิ์)
6. นางสาวกาญจนา  โพนภาค
7. นางสาวสุทิสา ลี้อนันต์ศักดิ์ศิริ
8. นายกฤษดา ศรีสกุล 
ที่ปรึกษา
ที่ปรึกษา

ที่ปรึกษา
ประธานกรรมการ

กรรมการ

กรรมการ
กรรมการและเลขานุการ
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

แผนการดำเนินโครงการ

กิจกรรม กำหนดการ
กิจกรรมที่ 1 จัดทำแผนงาน และแนวปฏิบัติ
  • เสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารและติดตามงาน
    และ คณะกรรมการการประจำสำนักคอมพิวเตอร์
  • จัดประชุมวางแผนการดำเนินการ และกำหนดแนวปฏิบัติ
  • เสนอโครงการต่อมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ

ตุลาคม 2557 – มกราคม 2558

กิจกรรมที่ 2 การติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบ วิเคราะห์ และออกแบบระบบ
  • สำรวจความต้องการ การขอใช้บริการข้อมูลของผู้ใช้ จากบันทึกข้อความ และจากการประชุมร่วมกับหน่วยงาน
  • วิเคราะห์ และออกแบบ Web Service สำหรับให้บริการ
  • พัฒนาระบบ SWU Web Service เพื่อสนับสนุนการบริหารและการบริการข้อมูลสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดังนี้

    1) ติดตั้ง ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องบนเครื่องแม่ข่ายเดิมที่มีอยู่แล้ว
           o เครื่องแม่ข่ายสำหรับให้บริการโปรแกรมประยุกต์ (Application Server Machine)
           o ระบบฐานข้อมูล (Database Server Machine)
           o เชื่อมต่อระบบแสดงตัวตนด้วยบัวศรีไอดี LDAP
    2) พัฒนาระบบขึ้นทะเบียนเว็บเซอร์วิส (Web Service Registry) บนเครื่องแม่ข่ายสำหรับให้บริการ โปรแกรมประยุกต์ (Application Server Machine) เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลและคำอธิบายของ Web Service ที่ให้บริการข้อมูลจากระบบงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยดำเนิการดังนี้
           o จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง หารือแนวทางการใช้งาน ข้อบังคับ แนวปฏิบัติและระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ต้องดำเนินการ
           o ออกแบบระบบขึ้นทะเบียนเว็บเซอร์วิส จัดทำคำอธิบายต่างๆ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
           o พัฒนาโปรแกรมระบบขึ้นทะเบียนเว็บเซอร์วิส
           o ทดสอบระบบ อบรมผู้ใช้ ผู้ดูแลระบบ
    3) การให้บริการข้อมูลสารสนเทศของมหาวิทยาลัย มี 2 รูปแบบ
           o แบบสาธารณะ (Public) เป็นข้อมูลสามารถเผยแพร่ได้
           o แบบส่วนตัว (Private) ข้อมูลเผยแพร่แบบมีการกำหนดสิทธิ์และขอบเขตของข้อมูล
    4) ออกแบบฐานข้อมูลการให้บริการ Web Service เพิ่มเติม
           o ด้านนิสิต
           o ด้านบุคลากร
           o ด้านหลักสูตร
  • ประชาสัมพันธ์และแนะนำระบบ ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัย
  • จัดประชุมหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวปฏิบัติการให้บริการ และการเพิ่มข้อมูลให้บริการ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
  • รวบรวมข้อมูลการประเมินระบบ และสรุปผล หาแนวทางผลักดันให้เกิดการใช้งานที่ถูกต้อง และแพร่หลาย

ตุลาคม 2557

พฤศจิกายน – ธันวาคม 2557
ธันวาคม 2557 – กันยายน 2558





















พฤษภาคม – มิถุนายน 2558
กรกฎาคม – สิงหาคม 2558

สิงหาคม – กันยายน 2558

กิจกรรมที่ 3 รายงานผลการดำเนินงาน และสรุปโครงการ
  • ติดตามผลการดำเนินการ และสรุปผลการใช้งาน
  • รายงานความคืบหน้าให้แก่ที่ประชุมคณะกรรมการประจำหน่วยงาน
  • สรุปผลการดำเนินการต่อมหาวิทยาลัย

มิถุนายน – สิงหาคม 2558
กุมภาพันธ์ – กันยายน 2558
กันยายน 2558

การประชุมและติดตาม

ครั้งที่ วัน / เวลา / สถานที่ เอกสารสรุปการประชุม
1 รายงานการประชุมและติดตามงาน Web Service ครั้งที่ 1
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 เวลา 10.00 - 11.30 ณ ห้องประชุม ชั้น 13
อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี สำนักคอมพิวเตอร์ ประสานมิตร
2 รายงานการประชุมและติดตามงาน Web Service ครั้งที่ 2
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2557 เวลา 9.00 – 11.00 ณ ห้องประชุม ชั้น 13
อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี สำนักคอมพิวเตอร์ ประสานมิตร
3 รายงานการประชุมและติดตามงาน Web Service ครั้งที่ 3
เมื่อ วันที่ 16 ตุลาคม 2557 เวลา 9.00 – 11.30 ณ ห้องประชุม ชั้น 13
อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี สำนักคอมพิวเตอร์ ประสานมิตร
4 รายงานการประชุมและติดตามงาน Web Service ครั้งที่ 4
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2557 เวลา 14.00 – 16.00 ณ ห้องประชุม ชั้น 13
อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี สำนักคอมพิวเตอร์ ประสานมิตร
5 รายงานการประชุมและติดตามงาน Web Service ครั้งที่ 5
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 เวลา 15.00 – 16.00 ณ ห้องประชุม ชั้น 13
อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี สำนักคอมพิวเตอร์ ประสานมิตร
6 รายงานการประชุมและติดตามงาน Web Service ครั้งที่ 6
เมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม 2557 เวลา 10.00 – 11.00 ณ ห้องประชุม ชั้น 13
อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี สำนักคอมพิวเตอร์ ประสานมิตร
7 รายงานการประชุมและติดตามงาน Web Service ครั้งที่ 7
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2557 เวลา 9.00 – 10.00 ณ ห้องประชุม ชั้น 13
อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี สำนักคอมพิวเตอร์ ประสานมิตร
8 รายงานการประชุมและติดตามงาน Web Service ครั้งที่ 8
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558 เวลา 8.30 – 10.00 ณ ห้องประชุม ชั้น 13
อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี สำนักคอมพิวเตอร์ ประสานมิตร
9 รายงานการประชุมและติดตามงาน Web Service ครั้งที่ 9
เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2558 เวลา 10.00 – 12.00 และ 13.30 - 15.00 ณ ห้องประชุม ชั้น 13
อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี สำนักคอมพิวเตอร์ ประสานมิตร
10 รายงานการประชุมและติดตามงาน Web Service ครั้งที่ 9
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 เวลา 14.00 – 15.20 ณ ห้องประชุม ชั้น 13
อาคารนวัตกรรม ศ.ดร.สาโรช บัวศรี สำนักคอมพิวเตอร์ ประสานมิตร

ขั้นตอนการขอรับบริการ

การขอรับบริการข้อมูลแบบ Public

การขอรับบริการข้อมูลแบบ Private

* กรณีการขอข้อมูลแบบ Private กรุณาติดต่อ 17968 (สำนักคอมพิวเตอร์ ฝ่ายระบบสารสนเทศ) เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น และจัดเตรียมข้อมูลก่อนทำการบันทึกคำขอในระบบ

ผลการดำเนินโครงการพัฒนาระบบ SWU Web Service

            สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดทำโครงการพัฒนาระบบ SWU Web Service เพื่อสนับสนุนการบริหารและการบริการข้อมูลสารสนเทศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ตุลาคม 2557 – กันยายน 2558) เพื่อให้บริการข้อมูลสารสนเทศให้แก่หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยในด้านต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลนิสิต  ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลงานวิจัย ข้อมูลการเงิน ข้อมูลอาคารสถานที่ และข้อมูลด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในระบบที่หน่วยงานพัฒนาเพื่อภารกิจเฉพาะด้านที่นอกเหนือจากบริการสารสนเทศหลักของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และเพื่อพัฒนาบุคลากรของสำนักคอมพิวเตอร์ให้มีสมรรถนะด้านการใช้ไอซีที สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ในการดำเนินงานของโครงการฯ นี้ มีหน่วยงานนำร่องเข้าร่วมโครงการ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย  บัณฑิตวิทยาลัย  และสำนักหอสมุดกลาง 
             ขณะนี้การดำเนินโครงการได้เสร็จสิ้นลงแล้ว สำนักคอมพิวเตอร์ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบ SWU Web Service เพื่อสนับสนุนการบริหารและการบริการข้อมูลสารสนเทศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ตุลาคม 2557 – กันยายน 2558) ตามแผนการดำเนินงานโครงการ ในแต่ละกิจกรรมดังนี้

กิจกรรมที่ 1 : จัดทำแผนงาน และแนวปฏิบัติ

คณะกรรมการดำเนินการโครงการ ได้มีการดำเนินงานในกิจกรรมที่ 1  ดังนี้

กิจกรรม ผลการดำเนินงาน
1. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารและติดตามงาน และ คณะกรรมการการประจำสำนักคอมพิวเตอร์

เสนอโครงการ และแผนการดำเนินงานโครงการ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารและติดตามงาน (MPM) เพื่อพิจารณา ให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานโครงการ

  • ประชุมคณะกรรมการบริหารและติดตามงาน ครั้งที่ 1/2558 วันที่ 13 มกราคม 2558
  • ประชุมคณะกรรมการบริหารและติดตามงาน ครั้งที่ 3/2558 วันที่ 1 เมษายน 2558
สถานะ ดำเนินการเสร็จสิ้น
2. จัดประชุมวางแผนการดำเนินการ และกำหนดแนวปฏิบัติ
3. เสนอโครงการต่อมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารโครงการ

ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารและติดตามงาน (MPM) ครั้งที่ 3/2558 วันที่ 1 เมษายน 2558 ได้เสนอ ร่างรายชื่อคณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการดำเนินการโครงการ เพื่อพิจารณาและเสนอมหาวิทยาลัย ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ

สถานะ สำนักคอมพิวเตอร์กำลังดำเนินการ ขอแต่งตั้งคณะกรรมการ

 

กิจกรรมที่ 2 : การติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบ วิเคราะห์ และออกแบบระบบ

คณะกรรมการดำเนินการโครงการ ได้มีการดำเนินงานในกิจกรรมที่ 2 ดังนี้

กิจกรรม ผลการดำเนินงาน
1. สำรวจความต้องการ การขอใช้บริการข้อมูลของผู้ใช้ จากบันทึกข้อความ และจากการประชุมร่วมกับหน่วยงาน

ดำเนินการรวบรวมประวัติการขอข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ดังนี้
1. รวบรวมบันทึกข้อความที่หน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัยมีการขอข้อมูลจากระบบ สารสนเทศทรัพยากรบุคคล (HURIS)
2. ประชุมหารือแนวปฏิบัติการให้บริการ และข้อมูลสารสนเทศในแต่ละด้านจากระบบ สารสนเทศกลางของมหาวิทยาลัยที่จะให้บริการ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ  ซึ่งมีหน่วยงานเข้าร่วมประชุม ดังนี้
1) สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย
- วันที่ 6 พฤศจิกายน 2557
2) สำนักหอสมุดกลาง
- ครั้งที่ 1 วันที่ 2 กรกฎาคม 2558
- ครั้งที่ 2 วันที่ 13 กรกฎาคม 2558
- ครั้งที่ 3 วันที่ 5 สิงหาคม 2558
3) บัณฑิตวิทยาลัย
- ครั้งที่ 1 วันที่ 25 พฤษภาคม 2558
- ครั้งที่ 2 วันที่ 27 สิงหาคม 2558

สถานะ ดำเนินการเสร็จสิ้น

2. วิเคราะห์ และออกแบบ Web Service สำหรับให้บริการ ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบ SWU Web Service เพื่อให้รองรับการให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ทั้งได้ดำเนินการพัฒนาระบบ ทดสอบระบบ ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูลที่ให้บริการ

สถานะ ดำเนินการเสร็จสิ้น

3. พัฒนาระบบ SWU Web Service เพื่อสนับสนุนการ บริหารและการบริการข้อมูลสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดังนี้

1) ติดตั้ง ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ และซอฟต์แวร์ ที่เกี่ยวข้อง บนเครื่องแม่ข่ายเดิมที่มีอยู่แล้ว
- เครื่องแม่ข่ายสำหรับให้บริการโปรแกรม ประยุกต์ (Application Server Machine)
- ระบบฐานข้อมูล (Database Server Machine)
- เชื่อมต่อระบบแสดงตัวตนด้วยบัวศรีไอดี LDAP

2) พัฒนาระบบขึ้นทะเบียนเว็บเซอร์วิส (Web Service Registry) บนเครื่องแม่ข่ายสำหรับ ให้บริการโปรแกรมประยุกต์ (Application Server Machine) เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลและ คำอธิบายของ Web Service ที่ให้บริการข้อมูล จากระบบงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดย ดำเนินการดังนี้
- จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง หารือแนวทางการใช้ งาน ข้อบังคับ แนวปฏิบัติ  และระเบียบของ มหาวิทยาลัยที่ต้องดำเนินการ
- ออกแบบระบบขึ้นทะเบียนเว็บเซอร์วิส จัดทำคำอธิบายต่างๆ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาโปรแกรมระบบขึ้นทะเบียนเว็บเซอร์วิส
- ทดสอบระบบ อบรมผู้ใช้ ผู้ดูแลระบบ

3) การให้บริการข้อมูลสารสนเทศของมหาวิทยาลัย มี 2 รูปแบบ
- แบบสาธารณะ (Public) เป็นข้อมูลสามารถเผยแพร่ได้
- แบบส่วนตัว (Private) ข้อมูลเผยแพร่แบบมี การกำหนดสิทธิ์และขอบเขตของข้อมูล

4) ออกแบบฐานข้อมูลการให้บริการ Web Service เพิ่มเติม
- ด้านนิสิต
- ด้านบุคลากร
- ด้านหลักสูตร
1. ดำเนินการติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องแม่ ข่ายเดิมที่มีอยู่แล้ว และเลือกเครื่องมือที่ใช้ ในการพัฒนาระบบโดยมีรายละเอียดดังนี้

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา:

Visual Studio 2012

ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา :

  • ASP.NET MVC
  • C#.NET
  • Java Script Framework :   Jquery
  • Java Script Library : JQGRID

ฐานข้อมูล :

SQL Server 2012


เมื่อทำการพัฒนาระบบ ติดตั้งระบบเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว จึงให้หน่วยงานนำร่อง ได้แก่ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย และ บัณฑิตวิทยาลัย ทดลองใช้งาน ดังนี้
1) สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มีการส่งข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง ดังนี้
- ครั้งที่ 1 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558
- ครั้งที่ 2 วันที่ 21 สิงหาคม 2558
2) บัณฑิตวิทยาลัย มีการส่งข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง ดังนี้
- ครั้งที่ 1 วันที่ 17 กันยายน 2558
- ครั้งที่ 2 วันที่ 24 กันยายน 2558

2. หน่วยงานนำร่องทั้ง 2 หน่วยงาน ได้ขอใช้ บริการข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบ SWU Web Service
http://webservice.swu.ac.th/WebServiceRegister/

สถานะ ดำเนินการเสร็จสิ้น

4. ประชาสัมพันธ์ และแนะนำระบบผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัย จัดทำเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ และแนะนำการใช้งานระบบ http://cc.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=6137

สถานะ ดำเนินการเสร็จสิ้น
5. จัดประชุมหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนว ปฏิบัติการให้บริการ และการเพิ่มข้อมูลให้บริการ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ มีการประชุมร่วมกับบุคลากรฝ่ายระบบสารสนเทศ ซึ่งเป็นผู้ดูแลระบบสารสนเทศกลางของมหาวิทยาลัย เพื่อหารือแนวปฏิบัติการให้บริการ รายละเอียดข้อมูลแบบสาธารณะ (Public) และข้อมูลที่เป็นส่วนตัว (Private) รวมถึงการให้บริการข้อมูลระหว่างระบบ สารสนเทศกลางของมหาวิทยาลัย กับระบบ สารสนเทศที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นมาใช้งานภายใน  เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้รวบรวม รายละเอียดการประชุมแต่ละครั้งไว้ที่เว็บไซต์

http://cc.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=6137


สถานะ ดำเนินการเสร็จสิ้น
6. รวบรวมข้อมูลการประเมินระบบ และสรุปผล หาแนวทางผลักดันให้เกิดการใช้งานที่ถูกต้อง และแพร่หลาย ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อหาแนวทาง ผลักดันให้เกิดการใช้งานที่ถูกต้องและแพร่หลาย  ขณะนี้อยู่ในช่วงหาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดการใช้งานที่ถูกต้องและแพร่หลาย

สถานะ คณะกรรมการดำเนินงานอยู่ในระหว่าง การหารือการจัดทำร่างนโยบาย และแนว ปฏิบัติการให้บริการข้อมูลสารสนเทศ เพื่อเสนอ มหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นชอบ และดำเนินการ ส่งเสริมการใช้งานต่อไป

 

กิจกรรมที่ 3 : รายงานผลการดำเนินงาน และสรุปโครงการ

คณะกรรมการดำเนินการโครงการ ได้มีการดำเนินงานในกิจกรรมที่ 3  ดังนี้

กิจกรรม ผลการดำเนินงาน
1. ติดตามผลการดำเนินการ และสรุปผลการใช้งาน

1. พัฒนาระบบ Web Service Register เพิ่มเติมให้สามารถจัดเก็บประวัติการใช้งาน เมื่อผู้ใช้เข้าดำเนินการ
2. บัณฑิตวิทยาลัยขอรับบริการข้อมูลแบบ ส่วนตัว (Private) เพื่อนำข้อมูลไปจัดทำระบบฐานข้อมูลของระบบ E-thesis

สถานะ ดำเนินการเสร็จสิ้น

2. รายงานความคืบหน้าให้แก่ที่ประชุม คณะกรรมการประจำหน่วยงาน

จากการประชุมคณะกรรมการบริหารและติดตามงาน (MPM)  
- ครั้งที่ 7/2558 วันที่ 23 กรกฎาคม 2558
- ครั้งที่ 8/2558 วันที่ 17 กันยายน 2558
นางสาววิลาวัลย์ บัวขำ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ได้รายงานผลการ ดำเนินการโครงการ ประเด็นปัญหาที่ขอหารือจากที่ประชุม ซึ่งที่ประชุมมติและข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ปรับรูปแบบและเนื้อหาภายในใบคำขอข้อมูล (บันทึกข้อความ) แบบส่วนตัว (Private)
- ได้ทำการแก้ไขใบคำขอข้อมูลตามที่ เสนอ และจัดทำตัวอย่างใบคำขอข้อมูลแสดงไว้ที่
http://cc.swu.ac.th/Portals/1/Documents/webservice/example.pdf

สถานะ ดำเนินการเสร็จสิ้น

2. มอบ นางพัชรินทร์ สนธิวนิช ผู้อำนวยการ สำนักงานผู้สำนักคอมพิวเตอร์ ติดตามรายชื่อคณะกรรมบริหารโครงการเพื่อการ ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ

สถานะ เนื่องจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ครบ วาระการดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 จึงต้องทบทวนรายชื่อ และสอบถาม กรรมการแต่ละท่านใหม่อีกครั้ง

3. สรุปผลการดำเนินการต่อมหาวิทยาลัย นางสาววิลาวัลย์ บัวขำ ประธานคณะกรรมการ ดำเนินงานโครงการ รายงานผลการดำเนินงาน ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารและติดตาม งาน (MPM)  ครั้งที่ 8/2558 วันที่ 17 กันยายน 2558 และขอนำรายงานฉบับสมบูรณ์ส่งสำนักคอมพิวเตอร์ ภายในเดือนตุลาคม 2558 นี้

สถานะ ดำเนินการเสร็จสิ้น

 

ปัญหา อุปสรรคและแนวทางในการแก้ปัญหา
          จากการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบ SWU Web Service พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนโครงการ เนื่องจากผู้พัฒนาขาดความรู้ ความชำนาญในเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ข้อจำกัดของงบประมาณ อีกทั้งนโยบายและแนวปฏิบัติในการให้บริการด้วยช่องทางนี้ อยู่ในระหว่างเสนอขอความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถสรุปปัญหาและอุปสรรคที่พบได้ ดังนี้

1. ด้านเครื่องมือ
          ในระยะแรกของการพัฒนา คณะกรรมการดำเนินงานได้เลือกภาษา Telerik มาใช้ในการพัฒนาระบบ SWU Web Service แต่พบว่าภาษาดังกล่าวมีการเรียกเก็บค่าบริการ หากต้องการลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ จะต้องเลือกภาษาที่มีขีดความสามารถที่ใกล้เคียงกับภาษา Telerik และต้องมีคุณสมบัติครอบคลุมความต้องการในการใช้งาน จากความจำเป็นดังกล่าวข้างต้น จึงต้องทำการศึกษาเครื่องมือแบบ Open Source โดยเลือกภาษา JQGrid เป็นภาษาในการพัฒนาแทนภาษา Telerik  ด้วยทีมพัฒนาต้องใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ภาษา จึงส่งผลกระทบต่อระยะเวลาในการพัฒนาระบบมากขึ้นจากกรอบเวลาที่กำหนด แต่ไม่ส่งผลกระทบกับระยะเวลาการส่งโครงการ

2. ด้านความรู้พื้นฐานของผู้พัฒนา
ในการพัฒนาระบบ SWU Web Service ได้เลือกใช้ภาษาในการพัฒนา คือ

  •  ASP.NET MVC
  • C#.NET
  • Java Script Framework :   Jquery

แต่เนื่องจากผู้พัฒนาไม่มีความชำนาญในการใช้ภาษาดังกล่าวในการเขียนโปรแกรม จึงต้องใช้เวลาในการศึกษาและเรียนรู้เทคนิคการเขียนโปรแกรม

3. ด้านนโยบาย
          เนื่องจากระบบ SWU Web Service เป็นบริการในรูปแบบใหม่ของสำนักคอมพิวเตอร์ จึงยังไม่มีข้อกำหนดในการเข้าใช้งาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือการจัดทำร่างนโยบาย และข้อกำหนดในการเข้าใช้งานระบบร่วมกันกับหน่วยงานผู้กำกับดูแลข้อมูล

 

ข้อเสนอแนะ

          เพื่อให้การพัฒนาระบบ SWU Web Service ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการเพิ่มช่องทางให้หน่วยงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว และลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล  เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้เกิดการใช้งานระบบ SWU Web Service อย่างแพร่หลาย และเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ จึงขอเสนอแนะ ดังนี้

1. การประชาสัมพันธ์
          เพื่อให้หน่วยงานมีความรู้ และความเข้าใจบริการของระบบ ตลอดทั้งขั้นตอนในการขอเข้ารับบริการข้อมูลจากระบบ ดังต่อไปนี้
  1. ประชุมหน่วยผู้กำกับดูแลข้อมูลในแต่ละด้าน  เพื่อให้รับทราบบริการการใหม่ และให้ตระหนักถึงความสำคัญและชั้นความลับของข้อมูล
  2. ประชาสัมพันธ์ระบบ SWU Web Service ในช่องทางต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์มหาวิทยาลัย และสำนักคอมพิวเตอร์
2. การอบรม
  1. จัดอบรมการใช้งานระบบให้แก่บุคลากรผู้มีหน้าที่ดูแลระบบสารสนเทศประจำหน่วยงาน บุคลากรตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายได้โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ
  2. จัดโครงการบริการวิชาการสำหรับผู้อำนวยการสำนักงานผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการสำนักงานคณบดี  เพื่อแนะนำระบบ  แนวปฏิบัติในการใช้งานระบบ และรวบรวมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบ   


รายงานผลการดำเนินโครงการ SWU Web Service