web
counter
ระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายบัวศรี (VoIP)

สถานะ

ประสานมิตร

รายการ สถานะ
Node 1 อาคารศิลปกรรม ชั้น2
Node 2 อาคารศิลปกรรม ชั้น2
Node Science อาคาร 19 ชั้น 1

 

 



 องครักษ์ 

รายการ สถานะ
Node 3 อาคารเรียนรวม ชั้น 3     
Node    อาคารเรียนรวม     
Node    อาคารอำนวยการ     

 

 

 

ติดต่อสอบถาม

  • โทรศัพท์ขัดข้อง แจ้งซ่อม 
    http://dbts.swu.ac.th
  • ประกาศข้อความเสียงบนระบบตอบรับอัติโนมัติ (IVR)
    ติอต่อ ศูนย์สารสนเทศและการประชาสัมพันธ์   โทร.02-6495000 ต่อ 0 
  • ขอคำปรึกษาเรื่องติดตั้งและการใช้งานโทรศัพท์ VoIP
    อีเมล : voip@swu.ac.th

ดาวน์โหลด

ทำไมต้อง VoIP

VoIP (Voice over Internet Protocol) เป็นเทคโนโลยีการส่งสัญญาณเสียงไปบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยี VoIP กำลังเข้ามาแทนที่โทรศัพท์ระบบอนาล็อก ซึ่งให้ความสะดวกในการใช้งาน และการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก ขณะที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้ติดตั้ง และใช้งานโทรศัพท์ระบบอนาล็อกเป็นเวลานานกว่า 20 ปี ฟังก์ชั่นและคุณสมบัติการทำงานมีขีดจำกัดที่ไม่สามารถขยายเพิ่มเติมได้ รวมทั้งอุปกรณ์ของระบบโทรศัพท์มีอายุการใช้งานยาวนาน และเสื่อมสภาพลง ขาดอุปกรณ์ทดแทนจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ ผนวกกับค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูงขึ้น มหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโทรศัพท์ระบบอนาล็อกเป็นโทรศัพท์ระบบวีโอไอพี เพื่อแก้ไขข้อจำกัดของโทรศัพท์ระบบอนาล็อก โดยโทรศัพท์ระบบวีโอไอพีมีคุณสมบัติง่ายต่อการบริหารจัดการ การติดตั้ง การเคลื่อนย้าย และค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไอซีที (ICT) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ครอบคลุมทุกพื้นที่ เช่น มศว ประสานมิตรและองครักษ์ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน และวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย จังหวัดสระแก้ว ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหัวใจหลักของโทรศัพท์ระบบวีโอไอพี เนื่องจากสายสัญญาณแลน / สายแลน (UTP Cable) ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) ได้ถูกนำมาใช้ร่วมกับหัวเครื่องโทรศัพท์วีโอไอพี ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายสัญญาณโทรศัพท์ระบบอนาล็อกลง 

    ภาพประกอบ : การเชื่อมต่อสายสัญญาณโทรศัพท์ระบบวีโอไอพี

หัวเครื่องโทรศัพท์วีโอไอพีถูกควบคุมจากอุปกรณ์กลาง คือตู้สาขาโทรศัพท์ไอพี (IP PBX) ผ่านช่องสัญญาณแลนและอินเทอร์เน็ต ซึ่งต่างจากหัวเครื่องโทรศัพท์อนาล็อกที่มีขั้นตอนซับซ้อนมากกว่าโทรศัพท์ระบบวีโอไอพี ขณะเดียวกันโทรศัพท์ระบบอนาล็อกจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์มาก ทำให้ขั้นตอนการบริหารจัดการ การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

โทรศัพท์ระบบวีโอไอพีจุดเด่นด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และความง่ายในการบริหารจัดการ แต่มีข้อด้อยในด้านระบบไฟฟ้า เครือข่ายแลนและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากปัจจัยทั้ง 3 หากมีปัญหาจะเกิดผลกระทบต่อโทรศัพท์ระบบวีโอไอพีทันที 

นอกจากข้อดีของการส่งสัญญาณเสียงบนเครือข่ายแลนและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยหัวเครื่องโทรศัพท์วีโอไอพีแล้ว ยังสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ซอฟต์โฟน (Softphone) แทนการใช้หัวเครื่องโทรศัพท์วีโอไอพีได้เช่นกัน และในปัจจุบันยังได้มีการพัฒนาให้อุปกรณ์มือถือ หรือสมาร์ทโฟน (Smartphone) สามารถสื่อสารแบบวีโอไอพีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเช่นกัน จากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาจึงเป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้เลือกใช้โทรศัพท์ระบบวีโอไอพี

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติระบบโทรศัพท์ VoIP กับ Analog

คุณสมบัติโทรศัพท์ โทรศัพท์ระบบวีโอไอพี
(VoIP)
โทรศัพท์ระบบอนาล็อก
(Analog)
ลักษณะการใช้งานโดยทั่วไป
  • โอนสาย
  • รับสาย
  • ดึงสาย
  • พักสาย
  • วางสาย
  • แสดงหมายเลข
  • แสดงหมายเลขไม่ได้รับสาย (Missed call)
  • สนทนาแบบเห็นหน้า (เฉพาะเครื่องที่มีจอ หรือโปรแกรม sip phone)
  • โอนสาย
  • รับสาย
  • ดึงสาย
  • พักสาย
  • วางสาย
อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ
  • เครื่องโทรศัพท์วีโอไอพี
  • สายแลน (UTP) เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • ตู้สาขาโทรศัพท์ไอพี (IP PBX) พร้อมลิขสิทธิ์(License) ของหมายเลขโทรศัพท์
  • เครื่องโทรศัพท์อนาล็อก
  • สายโทรศัพท์ (RJ11)
  • ตู้กระจายสาย (MDF) ประจำอาคาร
  • อุปกรณ์ไลน์โทรศัพท์ (Line card หรือ Extension) ติดตั้งในตู้สาขาโทรศัพท์
  • ตู้ชุมสายโทรศัพท์ (Control node หรือ Peripheral node)
การเคลื่อนย้าย/โยกย้าย หมายเลขโทรศัพท์
  • ปลายทางมีสายแลน (UTP) เขื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต
  • ปรับเปลี่ยนค่าหมายเลขที่หัวเครื่องโทรศัพท์วีโอไอพีและตู้สาขาโทรศัพท์ไอพี
  • ปลายทางมีสายโทรศัพท์ (RJ11) เชื่อมต่อกับตู้สาขาโทรศัพท์
  • อุปกรณ์ไลน์โทรศัพท์ต้องมีช่องสัญญาณเพียงพอ
  • ปรับเปลี่ยนค่าหมายเลขโทรศัพท์ที่ตู้สาขาโทรศัพท์และตู้ชุมสายโทรศัพท์
การเพิ่มจำนวนหมายเลข
  • เพิ่มลิขสิทธิ์ (License) ที่ตู้สาขาโทรศัพท์ไอพี (ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม)
  • ตู้สาขาโทรศัพท์และตู้ชุมสายโทรศัพท์ต้องมีช่องสัญญาณรองรับ
  • หากอุปกรณ์ช่องสัญญาณเต็มต้องซื้ออุปกรณ์ไลน์โทรศัพท์เพิ่ม ซึ่งรองรับได้ตั้งแต่ 16 หมายเลขเป็นต้นไป
รูปแบบการใช้งานโทรศัพท์
  • หัวเครื่องโทรศัพท์วีโอไอพี
  • โปรแกรมซอฟต์โฟน (Softphone)ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์
  • โปรแกรมซอฟต์โฟน     (Softphone)ติดตั้งบนโทรศัพท์มือถือ (Smartphone)
  • หัวเครื่องโทรศัพท์อนาล็อก
ข้อจำกัด
  • หากระบบอินเทอร์เน็ตหรือไฟฟ้าขัดข้อง จะไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ระบบวีโอไอพีได้
  • หากระบบไฟฟ้าขัดข้อง ยังคงสามารถใช้งานโทรศัพท์ระบบอนาล็อกด้ตามปกติ   (สามารถใช้โทรศัพท์ได้เฉพาะในโครงข่ายอาคารเดียวกันเท่านั้น)
  • หากช่องสัญญาณใดบนอุปกรณ์ไลน์โทรศัพท์เสียหายจะไม่สามารถซ่อมแซมได้ จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ไลน์โทรศัพท์ใหม่ เพื่อทดแทนของเดิม

 

ช่องทางติดต่อขอรับบริการ

เนื่องจากสำนักคอมพิวเตอร์ได้ร่วมกับศูนย์พัฒนาสภาพกายภาพในการให้บริการโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(VoIP) โดยมีการแบ่งการทำงานกันคือ

  • สำนักคอมพิวเตอร์เป็นผู้ดูเเลระบบควบคุบการทำงานส่วนกลางของโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อระหว่างประสานมิตร-องครักษ์  และระบบตอบรับอัติโนมัติของทางมหาวิทยาลัย (IVR)

  • ศูนย์พัฒนาสภาพกายภาพฯ เป็นผู้ให้บริการกับผู้ใช้งานโทรศัพท์ในด้านการติดตั้ง ซ่อม รวมถึงการออกหมายเลขโทรศัพท์ให้กับหน่วยงาน

ช่องทางติดต่อขอรับบริการ
- โทรศัพท์ขัดข้อง แจ้งซ่อม
ติดต่อ http://dbts.swu.ac.th/submit/madbts2014/default.asp
- ต้องการประกาศข้อความเสียงบนระบบตอบรับอัติโนมัติของมหาวิทยาลัย (IVR)
ติอต่อ ศูนย์สารสนเทศและการประชาสัมพันธ์   โทร.02-6495000 ต่อ 0
- ขอคำปรึกษาเรื่องติดตั้งโทรศัพท์ VoIP
ติดต่อ อีเมล : voip@swu.ac.th

 

คู่มือการใช้งานและแก้ปัญหาเกี่ยวกับโทรศัพท์เบื้องต้น

ผังระบบโทรศัพท์